เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้นำองค์กร ว่าค่าแรงมักจะเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่สุด รายละเอียดในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการ ภาษี รวมไปถึงรายละเอียดส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ Payroll ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่ารายจ่ายส่วนนี้นับเป็น 70% ของรายจ่ายทั้งหมดขององค์กรเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้เอง การดึงผู้ให้บริการ Payroll ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการซัพพอร์ตระบบ Payroll ให้ครอบคลุมทุกด้านจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์เงินเดือน และปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ถึงแม้ว่าการรับรองข้อมูล Payroll ที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงได้จะมีบริษัทผู้ให้บริการ Payroll ที่มีประสิทธิภาพเป็นผู้ดำเนินการให้ในขั้นตอนแรก แต่แอปพลิเคชันทางธุรกิจในปัจจุบันนี้ไม่สามารถทำงานแบบแยกส่วนได้ แผนกต่างๆ ทั้ง HR การเงิน การตลาด รวมถึงแผนกอื่นๆ ต่างก็ต้องอาศัยข้อมูลจำเพาะบางประเภทในการทำงาน แต่กระบวนการรวบรวมข้อมูลที่ทับซ้อนคาบเกี่ยวกัน และถูกจัดเก็บแยกกัน จนเกิดเป็นปัญหาที่เรียกว่า Data Silos ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลงตามมา
พาธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จ ด้วยการควบรวม HR และการเงิน
บุคลากรภายในองค์กรที่มีคุณภาพถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้าและเติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นแล้วการสร้างนโยบายการจัดการ Payroll จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเอื้ออำนวยให้องค์กรเติบโตพัฒนาขึ้น กระบวนการนี้จะต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างแผนก HR และ การเงิน ทั้งสองแผนกล้วนมีความสำคัญต่อระบบการดูแลพนักงาน แผนก HR มีหน้าที่จัดลำดับความสำคัญ ในขณะที่แผนกการเงินมีหน้าที่จ่ายเงิน การทำงานร่วมกันของทั้งสองแผนกนี้ ให้ผลตอบรับที่ดีในด้าน HCM หรือการลงทุนในมนุษย์ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร คือนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ยังช่วยเพิ่ม ROI (ผลตอบแทนในการลงทุน) อีกด้วย จากผลสำรวจระบบการทำงานภายในองค์กรพบว่า การร่วมงานกันของแผนกต่างๆ ภายในองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์กรจริง ในขณะเดียวกัน องค์กรที่มีการทำงานแบบแยกส่วนส่งผลกระทบต่อการทำงานของพนักงานในหลายด้าน ทั้งการทำงานซ้ำซ้อน และการเสียค่าใช้จ่ายไปกับบริการที่ไม่ได้ใช้งาน
หากคุณกำลังตัดสินใจที่จะปรับรูปแบบการทำงานภายในองค์กรมาเป็นแบบ HCM (Human Capital Management) รวบรวมระบบการจัดการดูแลพนักงานเอาไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน อย่าลืมพิจารณาถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
เลือกใช้บริษัทผู้ให้บริการ Payroll ที่เป็นสากล
การเลือกใช้ระบบ Payroll จากผู้ให้บริการที่เป็นองค์กรระดับสากล ช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการหลากหลายที่อาจไม่ได้ให้บริการครอบคลุมทั่วโลก และไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่คุณอาจต้องติดต่อประสานงานด้วย ผู้ให้บริการ Payroll ระดับสากลจะช่วยต่อยอดการทำงานจัดการบัญชีเงินเดือนด้วยฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์กับองค์กร ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่อาศัยที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับกฎหมายการจ้างงานที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็ยังคงบันทึกข้อมูลการจ่ายเงินของบริษัทเอาไว้อย่างถูกต้องบนแพลตฟอร์มแห่งเดียว ซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจถึงข้อมูลเชิงลึก เอื้อต่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้น
เชื่อมการทำงานระหว่างแผนกอย่างไร้รอยต่อ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ระบบ Payroll จากผู้ให้บริการที่เป็นสากล สามารถซัพพอร์ตการรวมแผนกภายในองค์กร และช่วยให้ระบบการทำบัญชีเงินเดือนเป็นไปอย่างราบรื่นได้ ดังนั้นแล้วจึงควรตรวจเช็กคุณสมบัติทางด้านความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลของระบบ Payroll ให้ดี หากเป็นไปได้ ลองพิจารณาถึงศักยภาพในการทำงานของระบบ Payroll ว่าเพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่
ประยุกต์ใช้เกณฑ์สากล ให้เหมาะสมกับบริบทสังคม
เมื่อวางแผนในการปรับเปลี่ยนเพื่อรวมแผนกเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญคือการประสานงานร่วมกับผู้ให้บริการ Payroll ในการนำเอาแผนการนี้ไปประยุกต์ใช้งานจริง รากฐานระบบการทำงานที่แข็งแรงขององค์กรจะช่วยสร้างแพลตฟอร์มกลางของระบบจัดการบัญชีเงินเดือน ที่พร้อมสำหรับการขยายตัวของบริษัทสู่หลากหลายพื้นที่ทั่วโลกที่อาจมีความแตกต่างทางด้านบริบทสังคม
Comments